1.ทำไม่เราต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น
บ้างอาจจะเรียนไปเพื่ออยากหาแฟนชาวญี่ปุ่น บ้างก็อยากจะเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองโดยเอาไปสมัครเข้าทำงานในบริษัทญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ฉันคิดว่าเหตุผลหลักของการอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นนั้น คือประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สวยงาม มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดูดี แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นไม่พูดภาษาอังกฤษ กำแพงทางด้านภาษานี่แหละที่ขวางกั้นไม่ให้สิ่งต่างๆจากญี่ปุ่นหลายสิ่งเข้ามาสัมผัสกับโลกภายนอกที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก ชาวญี่ปุ่นมักเป็นเลิศด้านการเขียนนวนิยาย การประดิษฐ์ การพัฒนาเกมและการเขียนเพลง แต่ผลงานของพวกเขานั้น น้อยนักที่จะนำมาแปลเป็นภาษาสากลอย่างภาษาอังกฤษ ยกเว้นเรื่องที่โด่งดังมากๆเช่น ดราก้อนบอล และ ไฟนอลแฟนตาซี พวกเรากำลังพลาดสิ่งดีๆมีคุณค่าหลายอย่างจากประเทศญี่ปุ่นเพียงเพราะว่าไม่เข้าใจภาษาของพวกเขา
หลังจากที่คุณชำนาญภาษญี่ปุ่นแล้วนั้น คุณจะรู้สึกเหมือนมีชีวิตที่สองเพิ่มขึ้น โลกใบใหม่ได้เปิดรอคุณแล้ว และคุณก็ยังจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล สารสนเทศที่จำกัดไว้เฉพาะคนญี่ปุ่นเท่านั้นได้ มีโอกาสมากมายให้คุณได้มองหาและนำมาใช้ แต่กุญแจสำคัญเลย คือคุณต้องพูดภาษาญี่ปุ่นให้ได้
คิดซะว่าภาษาญี่ปุ่นเหมือนกับพลั่ว เมื่อคุณมีพลั่วอยู่ในมือ คุณก็จะสามารถขุดให้ลึกลงไปสู่แหล่งทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในโลกได้อย่างสบายๆ
งานญี่ปุ่นหลายแห่งในประเทศไทย
หางานภาษาญี่ปุ่น | CareerLink.co.th
2.เอาล่ะ คำถามสำคัญ: ภาษาญี่ปุ่นยากมั้ย?
ไม่มีภาษาไหนบนโลกที่ยากขนาดเด็กห้าขวบพูดไม่ได้ และไม่มีภาษาไหนบนโลกที่ง่ายขนาดชายแก่วัยห้าสิบ สามารถชำนาญได้ภายในเวลาไม่กี่อึดใจ ในฐานะผู้ที่สำเร็จการเรียนทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาอังกฤษนั้น (ฉันเป็นคนจีน) ฉันคิดว่า ภาษาญี่ปุ่นไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คนทั่วไปเขาพูดกัน เหตุผลหลักที่ผู้คนคิดว่าภาษาญี่ปุ่นนั้นยาก เป็นเพราะหลักการเขียนภาษาญี่ปุ่นนั้นจะมีอักษรคันจิและอักษรสองแบบ เรียกว่า ฮิรางานะ และ คาตาคานะ ขณะที่ฉันเห็นด้วยว่าคันจินั้นยากที่จะชำนาญ แต่ฉันก็คิดว่า ฮิรางานะ และคาตาคานะก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ฉันได้ลงรายละเอียดบทเรียนเรื่องฮิรางานะและคาตาคานะไว้ในเวบไซต์นี้แล้ว รวมถึงการอ่านออกเสียง การสาธิตและบทช่วยจำ ออกแบบมาเพื่อคนที่พูดภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ ซึ่งฉันหวังว่ามันอาจจะช่วยให้คุณเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นและสนุกกับมันมากขึ้น
อีกทั้ง ฮิรางานะ และ คาตาคานะ เป็นสัญลักษณ์การออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น ในอีกทางหนึ่ง คุณไม่จำเป็นต้องมานั่งจำวิธีสะกดคำในภาษาญี่ปุ่น เพราะว่าการออกเสียงคำญี่ปุ่นนั้นจะเชื่อมโยงกันกับการสะกดคำ ซึ่งเป็นลักษณะที่ง่ายต่อการเรียนภาษานี้อย่างหนึ่ง ในขณะที่คันจินั้นเขียนยากมาก ภาษาญี่ปุ่นก็เป็นภาษาที่พอจะหยวนๆกันได้ กล่าวคือตัวคันจิ หรือสำนวนคันจิทุกสำนวน ทุกคำ สามารถเขียนเป็นฮิรางานะ หรือคาตาคานะได้ หากคุณลืมไปแล้วว่าตัวคันจิตัวนี้มันเขียนอย่างไร ก็ให้เขียนเป็นฮิรางานะหรือคาตาคานะแทน ภารกิจหลักเกี่ยวกับตัวคันจิของคุณก็คือ คุณต้องจำตัวคันจิให้ได้มากที่สุด ไม่งั้นการเขียนอาจจะล่าช้าได้ ฉันได้ทำบทเรียนเพิ่มเติมเพื่อสอนให้คุณรู้จักตัวคันจิแบบพื้นฐานที่ใช้กันมากที่สุดขึ้นมา รวมถึงชุดสาธิตการอ่านออกเสียงอย่างเต็มรูปแบบ และโน้ตช่วยจำด้วย
3. บอกฉันเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการเขียนภาษาญี่ปุ่นหน่อยสิ
ตามประวัติศาสตร์แล้ว ภาษาญี่ปุ่นไม่ปรากฏหลักการเขียนที่ชัดเจน มันเป็นแค่ภาษาพูดเท่านั้น คันจิ (อักษรในภาษาจีน) ก็ถูกนำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ตอนนั้น ชาวญี่ปุ่นในช่วงนั้นก็เรียนคันจิและใช้ประโยคแบบภาษาจีน ไวยากรณ์จีนมาสักพักหนึ่ง พูดง่ายๆ คือ พวกเขาเขียนภาษาจีน แต่เนื่องจากทั้งสองภาษานี้มีหลักไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เลยไม่เป็นที่สะดวกแก่ชาวญี่ปุ่นนักที่จะจดบันทึกแนวคิดแบบนี้ คุณคิดยังไงล่ะถ้ามีคนบอกให้คุณเขียนคำว่า “ฉันอ่านหนังสือ” เป็น “ฉันหนังสืออ่าน”?
ต่อมาชาวญี่ปุ่นจึงเริ่มแปลงภาษาจีนโดยเปลี่ยนลำดับของคำและใส่อนุภาคบางอย่างที่แสดงถึงความเป็นญี่ปุ่น ให้มากขึ้น อ่านภาษาจีนในวิถีภาษาญี่ปุ่นอาจเป็นความคิดที่บ้า แต่แนวคิดนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับมัธยมปลายของญี่ปุ่น วิชานี้เรียกว่า ระบบคัมบัง
มีคันจิจำนวนไม่น้อยที่ถูกเปลี่ยนไปจนไม่เหลือความหมายเดิมของมันเมื่อมันถูกใช้ในการสะกดคำในภาษาญี่ปุ่นและใช้เป็นหลักไวยากรณ์ บางครั้ง คันจิตัวที่ต่างกันมักถูกนำมาอ้างอิงเป็นเสียงเดียวกัน และก็แปลกอีกตรงที่ คันจิหนึ่งตัว สามารถออกเสียงได้มากกว่าหนึ่งเสียง มันค่อนข้างวุ่นวายอยู่พอตัว ดังนั้น เขาเลยสร้างมาตรฐานใหม่ โดยให้ตัวคันจิที่ยืมมาและที่ถูกกำหนดให้มีความหมายเดิมตั้งแต่ต้นนั้นไร้ประโยชน์ทั้งหมด คันจิที่ถูกกำหนดมาตรฐานใหม่ ทำให้ง่ายขึ้นนั้น จึงกลายมาเป็นฮิรางานะ และคาตาคานะอย่างเช่นปัจจุบัน ใช่แล้ว ฮิรางานะ และคาตาคานะก็คือคันจิที่ผิดรูปไปแล้วนั่นเอง!!!
ฮิรางานะ
ฮิรางานะเป็นตัวอักษรที่กำเนิดมาจากรูปแบบการเขียนอักษรจีนประเภทหนึ่งที่เรียกว่า การเขียนแบบหวัด บางตัวจะดูคล้ายคลึงกับตัวอักษรแรกเริ่มของมันเช่น い&以, も&毛, け&計 ขณะที่บางตัวอาจต้องใช้จินตนาการเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย นักเรียนญี่ปุ่นทุกคนจะเริ่มฝึกการเขียนฮิรางานะเบื้องต้นก่อน ซึ่งถือเป็นบทพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเป็นอันดับแรก เราสามารถเขียนบทความภาษาญี่ปุ่นโดยใช้แค่ฮิรางานะก็ย่อมได้ แต่ปัญหาก็คือ ภาษญี่ปุ่นจะไม่มีช่องว่างระหว่างคำญี่ปุ่นสองคำอย่างเช่นในภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นยังมีส่วนประกอบอะไรหลายๆอย่างเช่นการอ่านออกเสียงที่หยิบยืมมาจากภาษาจีนอยู่ด้วย บทความที่ใช้ฮิรางานะเพียงอย่างเดียว อาจจะอ่านยากสักหน่อย ไม่ใช่แค่คนต่างชาติ คนญี่ปุ่นก็อ่านยากเช่นกัน เช่น 投資 (ลงทุน,อุทิศ) ,闘志 (จิตวิญญาณการต่อสู้), 凍死 (แข็งตาย), 唐詩 (บทกวีบทหนึ่งที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง) และ 党史 (ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพรรคการเมือง) ทั้งหมดนี้สามารถเขียนแทนเป็น とうし (โทอุชิ) ในฮิรางานะได้ อย่างที่คุณเห็น “โทอุชิ” คำนี้จะไม่มีความหมายเลยถ้ามันอยู่ตัวเดียวโดดๆ รู้อย่างนี้แล้ว คุณจะยังเซ็นเอกสารโดยใช้แค่ ฮิรางานะ อย่างเดียวอยู่อีกไหม?
คาตาคานะ
คาตาคานะเป็นตัวอักษรที่กำเนิดมาจากรากศัพท์ของคันจิ เช่น イ มีรากศัพท์มาจาก 伊 เป็นต้น หลังสงครามโลกครั้งสองจบลง คาตาคานะจะนำมาใช้เขียนเฉพาะคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาจีน (เช่นカメラ (กาเมระ) เป็น “กล้อง”(คาเมร่า) แทน) และคำจำพวกศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ก็ด้วย (เช่น イヌ แทนคำ 犬 หรือ いぬ (สุนัข)) นักเขียนนวนิยายจะใช้คำในคาตาคานะเพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวละครในเรื่องเข้าใจคำๆนั้นว่าออกเสียงอย่างไร แต่ไม่รู้ว่ามันแปลว่าอะไร และนักเขียนการ์ตูนก็จะชอบเขียนบทสนทนาขึ้นมาเป็นคาตาคานะเพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวละครที่พูดบทสนทนานั้นเป็นชาวต่างชาติ จึงเกิดเทคนิคแนวทางการเขียนที่สนุก ตลกมากขึ้นซึ่งไม่มีทางพบเจอในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ทั้งหมดเป็นเพราะคาตาคานะ
คันจิ
คันจิถือได้ว่าเป็นสิ่งที่นักเรียนภาษาญี่ปุ่นเกลียดกันหมดทุกคน ไม่เว้นเจ้าของภาษาเองเช่นกัน ฉันที่เป็นคนจีนแล้วนั้น ก็เกลียดมันมาก เพราะว่าภาษาจีนนั้นเต็มไปด้วยคันจิ และคันจิแทบทั้งหมด การเขียนคันจิเป็นอีกทางที่จะช่วยให้ดินสอของคุณหักเร็วขึ้น และช่วยเพิ่มกล้ามแขนให้คุณด้วย แต่ภาษาญี่ปุ่นก็ไม่ใช่ภาษาที่งี่เง่าหรอกนะ มันต้องมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้พวกเขายังคงไว้ซึ่งตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่นทั้งที่มันเรียนและเขียนยากมากขนาดนี้
งั้น แล้วเหตุผลมันคืออะไรล่ะ?
อันดับแรก, คันจิสามารถสื่อความหมายที่ซับซ้อนออกมาขณะที่ยังคงความสั้นของวลีเอาไว้ได้ เช่นคำว่า 上半期 กับ “ช่วงครึ่งแรกของปี” ในภาษาอังกฤษ เรามักจะต้องแยกตัวอักษรตัวแรกในวลีนั้นๆออกมาเป็นรูปย่อเพื่อที่จะทำให้วลีนั้นสั้นลง แต่ผลที่ออกมากลับทำให้เข้าใจยากขึ้นไปอีก คันจิไม่มีปัญหาในด้านนี้เลย เพราะว่า คันจิทุกตัว มีความหมายในตัวของมันทุกคำ อันที่จริงแล้ว ฉันกลับรักคันจิซะอีกเมื่อต้องมาใช้โปรแกมเอ็กเซลในการทำงานของฉัน
ในการเขียนญี่ปุ่นสมัยใหม่จะมีการนำคันจิมาผสมกับฮิรางานะและคาตาคานะ ด้วย เนื่องจากคันจิมักจะเป็นคีย์เวิร์ด หรือคำสำคัญของบทความต่างๆ รูปแบบการผสมผสานแบบนี้จะช่วยเน้นคำสำคัญให้โดยอัติโนมัติ ทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างรวดเร็ว เดี๋ยวฉันจะทำให้คุณดู ลองอ่านประโยคข้างล่างนี้ดู:
“ตัวอักษรคาตาคานะรับเอามาจาก 中国 เมื่อหลายปีก่อน”
คุณเห็นว่าตัว 中国 มันยื่นออกมาจนคุณเห็นได้อย่างชัดเจนไหมล่ะ? อย่างไรก็ตาม ตัวคันจิตัวนั้นแปลว่า “ประเทศจีน”
อีกทั้ง คันจิยังเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างคำ ประกอบคำขึ้นมาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ไม่มีใครรู้ว่าหรอกว่า pneumonia และ osteoporosis มันแปลว่าอะไรถ้าไม่ได้อ้างอิงจากพจนานุกรมหรือมีคนมาอธิบายให้ฟัง แต่คนญี่ปุ่นทุกคนกลับเข้าใจคำว่า 肺炎 และ 骨粗鬆症 จากการอ่านตัวคันจิเท่านั้น โดยมันแปลว่า “โรคปอดบวม” และ โรคกระดูกพรุน
โรมาจิ
ชื่อที่ดูสวยงามของมันแท้จริงแล้วเป็นการเขียนเสียงญี่ปุ่นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ฉันพบว่า ตำราสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เริ่มต้นที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลักนั้นจะใช้โรมาจิในการสอนเสียส่วนมาก ซึ่งนั่นเป็นทางเลือกที่แย่สำหรับตัวฉัน
ทำไมน่ะเหรอ? เหตุผลแรกเลยคือ คนญี่ปุ่นไม่นิยมเขียนหนังสือ หรือบทความเป็นโรมาจิทั้งเล่ม โรมาจิจะใช้ในการถอดความชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือคำเขียนอย่างเช่น DVD, ‘Eメール’ (Email) เป็นต้น ในชีวิตจริงนั้น คุณจะไม่มีวันเจอข้อความภาษาญี่ปุ่นแบบนี้ “watashi ha nihonji desu.” และก็ไม่ควรเขียนภาษาญี่ปุ่นแบบนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นตำราพวกนั้นจึงสอนแต่สิ่งที่ไม่มีทางได้พบเห็นในชีวิตจริงแทบทั้งหมด
และเหตุที่สองคือ มันทำให้ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นจะอ่านออกเสียงคำญี่ปุ่นในแบบภาษาอังกฤษถ้ามันถูกเขียนขึ้นโดยใช้โรมาจิ คุณจะตำหนิฉันไหมถ้าฉันจะออกเสียงตัว R ในภาษาญี่ปุ่นแบบภาษาอังกฤษทั้งๆที่ฉันเห็นมันมีแค่ ‘ra, ri, ru, re, ro’? ดังนั้น ผู้เรียนที่เรียนผ่านซีดีสื่อการสอนจะออกเสียงด้วยสำเนียงที่ผิดเพี้ยนตั้งแต่เริ่มต้น และต้องใช้เวลานานพอควรที่จะลบล้างความเข้าใจที่ผิดแบบนั้นจนหมด
สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด, ใช่ว่า บทความที่ใช้แต่ฮิรางานะจะอ่านยากเพียงอย่างเดียว บทความที่ใช้แต่โรมาจิล้วนก็อ่านยากเช่นกัน แม้แต่เจ้าของภาษาเองก็ยังอ่านบทความที่ใช้โรมาจิล้วนไม่ได้เลย เพราะว่าด้วยจำนวนของคำพ้องเสียงที่มากมายเหลือเกิน คุณจะอยู่ในอาการสับสนทันทีเมื่อเจอคำว่า “คันเซย์” ที่แปลว่า “ให้กำลังใจ” ในบทที่ 1 แต่เมื่อไปเจอมันอีกทีในบทที่ 11 กลับแปลว่า “เสร็จสิ้น” โอไม่ มันยังแปลได้อีกความหมายหนึ่งว่า “ความเกียจคร้าน” หรือแปลว่า “ควบคุม” ในบทถัดไปก็ได้
4. บอกฉันเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการออกเสียงในญี่ปุ่นหน่อยสิ
ไม่ได้ว่ากันนะ แต่เป็นที่รับรู้กันทั่วไปแล้วว่า คนญี่ปุ่นจะพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงที่แปลกหู มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องสติปัญญา มันเป็นเพราะว่า เสียงในภาษาญี่ปุ่นมันแตกต่างกับเสียงในภาษาอังกฤษอย่างมาก มีหลายเสียงเลยที่ภาษาอังกฤษมี แต่ภาษาญี่ปุ่นกลับไม่มี เช่นพวกเสียง ‘ธ’, ‘ร’, ‘ฟ’ และภาษาญี่ปุ่นมีสระเพียงแค่ 5 ตัว มี อะ อิ อุ เอะ โอะ นอกเหนือจากนั้น ไม่มี คุณคงจะเข้าใจแล้วสินะว่ามันยากแค่ไหนสำหรับชาวญี่ปุ่นที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ
ภาษาญี่ปุ่นยังคงมีเสียงพยัญชนะอยู่ ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษสบายใจได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่พยัญชนะที่ไม่ออกเสียงของภาษาญี่ปุ่นนั้นสามารถออกเสียงได้สอบแบบ แบบปล่อยลม กับแบบกักลม ถ้าไม่เข้าใจว่า การปล่อยลม คืออะไร อธิบายง่ายเลยคือ พยัญชนะที่ไม่ออกเสียงในภาษาอังกฤษทุกตัวถือว่าเป็นแบบปล่อยลม ยกเว้นตัวที่ต่อท้ายตัว S เช่นตัว P ในคำว่า Sport กับ Port นั้นอ่านออกเสียงต่างกันอย่างสิ้นเชิง ลองด้วยตัวเองก็ได้ ตัว P ที่ต่อท้ายตัว S จะถือว่า เป็นพยัญชนะเสียงกักเสียดแทรก พยัญชนะที่เป็นเสียงกักเสียดแทรกนั้นพบเจอได้ทั่วไปในญี่ปุ่น แต่มันถูกกล่าวถึงน้อยมากในตำราเรียน ผลลัพธ์ก็คือ ผู้เรียนที่พูดภาษาอังกฤษจะออกเสียงทั้งหมดเป็นแบบปล่อยลม ออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่นสำเนียงต่างชาติแทน วิธีแก้ไขปัญหานี้ แนะนำให้ฝึกออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่ขึ้นต้นด้วยตัว S เช่น “start”, “sky”, “space” แล้วค่อยพยายามออกเสียงคำเดิมนี้โดยที่ไม่ออกเสียง S
แม้ว่าภูเขาไฟฟุจิจะเป็นที่โด่งดังมาก แต่ความจริงแล้ว ในภาษาญี่ปุ่นไม่มีเสียงภาษาอังกฤษ F อยู่ ฟันหน้าแถวบนของพวกเขาไม่เคยแตะที่ปลายลิ้นเลย จึงเป็นเหตุที่ทำให้ภาษาญี่ปุ่นไม่มีเสียง V เช่นกัน ดังนั้น เมื่อคุณออกเสียง S หรือ V ขณะที่พูดภาษาญี่ปุ่นออกมา แสดงว่าคุณกำลังพูดด้วยสำเนียงที่ไม่ถูกต้องอยู่
5. ฉันควรเลือกทำแบบทดสอบความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นแบบไหนดีล่ะ?
แบบทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้น JLPT (แบบทดสอบการวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งประกอบไปด้วยระดับความสามารถ 5 ระดับ ไล่ตั้งแต่ N5 (ขั้นพื้นฐาน) ไปจนถึง N1 (ขั้นสูงสุด) ซึ่งตามที่ฉันสืบทราบมา ว่าบริษัทญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานที่จะสมัครเข้าทำงาน สอบไล่ให้ได้อย่างน้อยระดับ N2
JLPT ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูในหมู่นักเรียนและอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นอยู่เหมือนกัน เพราะข้อสอบทั้งหมดจะเป็นแบบปรนัย ไม่มีทดสอบทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่น ซึ่งก็ทำให้เกิดข้อเท็จจริงตามมาว่า ถึงแม้จะมีคนที่สอบผ่านกันเยอะ แต่คนเหล่านั้นกลับพูดภาษาญี่ปุ่นได้ไม่ค่อยจะคล่องนัก แต่ฉันคิดว่า การสอบให้ได้ระดับ N1 และ N2 มันต้องใช้เวลานานมากในการร่ำเรียน (900 กับ 600 ชั่วโมงโดยประมาณ และอาจจะนานกว่านี้ถ้าผู้เรียนไม่มีพื้นฐานคันจิ) ฉะนั้น ผู้ที่สอบผ่านถึงระดับที่ว่านั้นได้ ก็น่าจะมีทักษะทางภาษาญี่ปุ่นที่มากอยู่ หมายความว่ามันทำให้การสอนงานให้กับคนเหล่านั้น เป็นไปได้ง่ายกว่าการมานั่งสอนงานให้กับมือใหม่หรือผู้ไม่มีพื้นเลย
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีคนมาถามคุณว่าเก่งภาษาญี่ปุ่นแค่ไหน ก็ให้ยื่นผลการทดสอบ JLPT เป็นหลักฐานให้ดูเลย
6. ภาษาญี่ปุ่นเป็นญาติห่างๆกับภาษาอื่นด้วยหรือเปล่า?
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ตัวอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นนั้นเดิมเป็นตัวอักษรภาษาจีนมาก่อน คนญี่ปุ่นกับคนจีนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรู้เรื่อง เข้าใจโดยใช้คันจิแม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยฝึกภาษาต่างประเทศอื่นเลยก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองภาษานี้เป็นอันต้องจบลง เพราะหลักไวยากรณ์ของทั้งคู่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง การเรียงคำก็ยังเรียงกลับหลังอีก ขณะที่ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่องผ่านการเขียนตัวคันจิ แต่ในการสื่อสารกันผ่านคำพูดกลับไม่รู้เรื่องเลย ความแตกต่างกันระหว่างภาษาจีนกับภาษาญี่ปุ่นนั้นมีมากมายกว่าความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาอังกฤษซะอีก
ภาษาญี่ปุ่นจึงถือว่าเป็นภาษาที่อยู่ตัวคนเดียว โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันกับภาษาอื่น แต่มันมีการยืมคำมาจากภาษาจีนและยุโรปบางคำอยู่บ้าง ดังนั้นถ้าคุณพูดภาษาจีนได้ ภาษาอังกฤษได้ หรือได้ทั้งคู่ คุณก็รู้จักคำในภาษาญี่ปุ่นไปแล้วกว่าพันคำโดยปริยาย
7. ภาษาญี่ปุ่นนี่มีสำเนียงเฉพาะถิ่นบ้างไหม?
น่าประหลาดใจอยู่เหมือนกัน ที่ภาษาญี่ปุ่นกลับมีสำเนียงเฉพาะถิ่นอยู่มากมาย แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกจะเป็นสำเนียงโตเกียว ซึ่งเรียกว่า 標準語 (สำเนียงกลาง) สำเนียงนี้ใช้สอนกันในโรงเรียนเป็น 国語 (ภาษาประจำชาติ) อีกกลุ่มหนึ่งเป็นสำเนียงโอซาก้า เรียกกันทั่วไปว่า คันไซเบน (สำเนียงคันไซ)
ข้อแตกต่างของทั้งสองสำเนียงนี้มันช่างใหญ่กว่าข้อแตกต่างกันระหว่างภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ กับสำเนียงอเมริกันเสียอีก แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้การสื่อสารกันของคนญี่ปุ่นต่างท้องถิ่นกันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนจะพบว่า การฟังสำเนียงคันไซจะเข้าใจได้ยากสักหน่อย เพราะว่าไม่เพียงแต่การออกเสียงสูงต่ำจะยากอย่างเดียว หลักไวยากรณ์ของมันก็ยังยากด้วย อย่างเช่น だめ (ไม่โอเค )ในสำเนียงกลางจะเป็นแบบนี้ ส่วนสำเนียงคันไซจะเป็น あかん แทน ซึ่งนี่ไม่มีอยู่ในตำราแต่อย่างใด
ในความคิดฉัน ฉันคิดว่าจำเป็นต้องเรียนรู้สำเนียงหลักให้ชำนาญเพื่อที่คุณจะได้เข้าใจสิ่งที่คนพูด ถ้าเขาพูดเป็นสำเนียงถิ่น คนญี่ปุ่นก็จะประทับใจในตัวคุณถ้าคุณพูดสำเนียงคันไซได้อย่างคล่องแคล่ว นั่นรวมถึงสาวๆก็ด้วยนะ
เอาล่ะ ฉันรู้ล่ะว่าจั่วหัวไว้ว่าแบบกระชับ แต่นี่เล่นซะยาวเหยียดเลย ยังไงก็ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกัน