บริษัทญี่ปุ่นอาจต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้แก่พนักงานทุกคน

อาจมีพลังงานบางอย่างที่กำลังคุกรุ่นได้ที่ภายในตลาดแรงงานของญี่ปุ่น การที่จำนวนประชากรในญี่ปุ่นลดลงและอัตราการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้สูงอายุอาจเป็นผลทำให้เกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หลังจากต่อต้านการขึ้นค่าแรงมาเป็นเวลาหลายปี บริษัทในญี่ปุ่นอาจต้องมานั่งทบทวนถึงความจำเป็นในการรักษาพนักงานให้ยังอยู่ต่อ ก่อนที่พวกเขาจะลาออกกันไปเสียหมด ณ ขณะนี้ ธนาคารทางการเงินของญี่ปุ่นได้กล่าวถึงสถานการณ์นี้โดยยกคำพูดของออร์เวลมาเปรียบเปรยเลยว่า “จงรักษากำลังแรงงานไว้”

อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.8% และลดลงอย่างต่อเนื่องขณะที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการเจริญเติบโตของโลก ในช่วงเวลานี้ คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ หรือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489-2507 ก็ทยอยกันเกษียณอายุหมด ขณะที่ประเทศก็ยังต่อต้านการอพยพย้ายถิ่นจำนวนมากๆอยู่ การไหลบ่าเข้ามาของประชากรหญิงและผู้สูงอายุจะต้องได้รับการชดเชย และรับเงินเยียวยาบ้าง แต่กลุ่มคนทำงานในญี่ปุ่นกลับร่อยหรอจนแทบจะหมดสิ้น

ปัญหาของสถิติจำนวนประชากรในญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร ถึงแม้จะมีอัตราการว่างงานที่ต่ำก็ตาม แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าแรงยังคงซบเซา คงที่อยู่เพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้น ปัญหานี้ทำให้ความพยายามของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่จะขยายค่าเงินขึ้นเป็นร้อยละ 2 เป็นอันต้องหยุดชะงักลง

กระนั้น พาดหัวก็ยังปิดบังเรื่องของการขับเคลื่อนวงการแรงงานอยู่ พวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากบริษัทใหญ่ ในขณะที่สหภาพมีแนวโน้มที่จะสร้างความสัมพันธ์อย่างอบอุ่นกับผู้บริหารและยอมรับการเพิ่มขึ้นของค่าเงินเพียงเล็กน้อย แม้ว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรได้มหาศาลก็ตาม ในทางกลับกัน พนักงานนอกเวลากลับได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 2.5 ถึง 3 ขณะที่ฐานเงินเดือนของพวกเขายังคงต่ำอยู่

นำไปสู่คำถามที่ว่า เมื่อไรกันที่ภาวะขาดแรงงานจึงกลายเป็นเรื่องที่รุนแรงถึงขนาดมีการแย่งชิงกันในหมู่นายจ้าง และยอมเพิ่มเดิมพันความเสี่ยงที่จะสูญเสียพนักงาน?

อิซุมิ เดวาเลียร์ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจญี่ปุ่นประจำธนาคาร อเมริกา-เมอร์ริล ลินช์ กล่าวว่าเราได้มาถึงจุดๆนั้นแล้ว “เรามักเจอเหตุการณ์ที่เรามีความหวังว่าจะมีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้น แต่สุดท้ายไม่เป็นเช่นนั้นมามากมายหลายครั้ง ดังนั้น กรณีนี้อาจจะยากสักหน่อย” เธอรับรู้ได้ แต่ด้วยการใช้วิธีพูดคุยกันอย่างเปิดเผย เธอก็สังเกตเห็นได้ว่า ตามกิจการที่เป็นนิยมๆอย่างโรงแรมห้าดาว หรือภัตตาคารหรูก็เริ่มที่จะหลุดจากสภาพการณ์นี้ไปอย่างช้าๆ เนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน “ทุกคนเริ่มตระหนักแล้วว่าถ้าพวกเขาไม่รักษาคนที่เก่งๆเอาไว้ ปัญหานี้จะถาโถมเข้ามาหาพวกเขาหนักขึ้นเรื่อยๆ”

สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจ ความจำเป็นในการรักษาพนักงานจะเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างแรก บริษัท ยามาโตะ โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัทรับส่งห่อพัสดุที่มีโลโก้เป็นลูกแมวที่กระจายอยู่ทั่วกรุงโตเกียว ก็เริ่มสอนงานให้เจ้าอื่นดูแล้ว การที่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพนักงานขับรถและความพยายามของคู่แข่งในการแย่งชิงพนักงานขับรถกันแล้วนั้น ทำให้บริษัทตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานสำหรับลูกค้าในเดือนเมษายน

ใช้เวลาร่วมทศวรรษ แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ท่ามกลางการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ทำให้บริษัท ยามาโตะขนส่งกลัวที่จะขึ้นราคา แต่พวกพนักงานที่ทำงานล่วงเวลา กับพนักงานที่ถูกงดจ่ายค่าแรงกลับมีข้อเสนอที่ดีกว่า เมื่อเป็นแบบนี้ บริษัทจึงจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่ทำงานล่วงเวลาทั้งหมด 47,000 คน

นี่อาจเทียบได้กับเหตุการณ์ พลาซ่า แอคคอร์ด 1985 ที่ญี่ปุ่น และเยอรมันตะวันตก ตกลงให้ญี่ปุ่นต้องแข็งค่าเงินจากอัตราแลกเปลี่ยน 250 เยน ต่อ 1 USD ให้แข็งขึ้นเป็น 150 เยน ต่อ 1 USD เหนือสิ่งอื่นใด เหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทญี่ปุ่นขยายตัวไปต่างประเทศมากขึ้น แต่ ณ ตอนนี้ บริษัทจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกันในเรื่องว่าจะทำอย่างไรกับสภาพคล่องของแรงงานที่หดตัวลงแบบนี้

ขณะที่ประชากรศาสตร์กำลังผลักดันตลาดแรงงานให้เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทางภาครัฐบาลเองก็ยังมีบทบาทสำคัญที่ต้องรับอยู่ ปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ได้เผยแผนการปฏิรูปสถานที่ประกอบการที่มุ่งลดช่องว่างในเรื่องของรายได้ที่ได้รับระหว่างพนักงานพาร์ทไทม์ กับพนักงานประจำ นอกจากนี้คุณอาเบะยังต้องการที่จะสร้างกฎข้อบังคับที่รัดกุมให้กับเรื่องของเวลาในการทำงานของพนักงานประจำอีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ทางบริษัทจะได้รับพนักงานใหม่เข้ามาทำงานได้ ซึ่งแผนฏิรูปนี้ยังคงรอการอนุมัติตามกฎหมายอยู่

ท้ายที่สุดแล้ว บทบาทที่สำคัญจริงๆในเรื่องนี้คงอยู่ที่ ธนาคารการเงินของญี่ปุ่น ด้วยวิธีเดินหน้านโยบายแบบพิเศษ ทำให้ผู้ว่าการธนาคารกลาง ฮารุฮิโกะ คุโรดะ สามารถต่อลมหายใจให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้อีกพักใหญ่ เร่งให้เติบโตขึ้นและทำให้อัตราการว่างงานลดลง วิธีการนี้จะทำให้เข้าใกล้เป้าหมายที่ธนาคารการเงินของญี่ปุ่นวางไว้ที่ร้อยละ 2 มีหนทางมากขึ้น มันอาจมีประโยชน์เพิ่มเติมในเรื่องของการบีบให้นายจ้างต้องเผชิญกับความเป็นจริงทางด้านประชากรศาสตร์มากขึ้นด้วย