วิธีกล่าวทักทายในภาษาญี่ปุ่น

ประโยคที่ใช้ “ทักทาย” ในภาษาญี่ปุ่น คือ “คนนิจิวะ” แต่ความจริง ยังมีประโยคอีกมากมายในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กล่าวทักทายผู้คน ใน วิกิฮาว ครั้งนี้จะมาสอนเรื่องน่ารู้ เป็นประโยชน์แก่ตัวคุณในเรื่องของการทักทายในญี่ปุ่นกัน

สรปุสั้นๆ 10 วิ
พูด “คนนิจิวะ” ในทุกสถานการณ์
รับโทรศัพท์พร้อมกล่าวว่า “โมชิ โมชิ”
ใช้คำว่า “โอสซุ” กับเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ชาย
ในโอซาก้า คำว่า “ยาโฮ่” เป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิง
เมื่อมีคนโค้งคำนับให้คุณ คุณก็ต้องโค้งคำนับกลับ

วิธีที่ 1 ทักทายแบบทั่วไป
พูด “คนนิจิวะ” ในทุกสถานการณ์ ประโยคนี้ใช้ทักทายได้ในทุกโอกาส และถ้าคุณจำประโยคทักทายประโยคอื่นไม่ได้เลย ใช้ประโยคนี้ซะ
คุณสามารถใช้ประโยคทักทายนี้ได้ทุกคน ไม่จำกัดฐานะทางสังคมด้วย
แม้จะมีคำทักทายที่แยกเป็นเวลาต่างๆแล้ว ประโยคนี้สามารถใช้ทักทายตอนบ่ายได้ด้วย (แทน Good Afternoon ได้)
สำหรับประโยคนี้ คันจิจะเขียน 今日は ส่วนฮิรางานะเขียนこんにちは
ออกเสียงประโยคนี้ได้ว่า คน-นี-จี-วา
รับโทรศัพท์พร้อมกล่าวว่า “โมชิ โมชิ” คำนี้เป็นการกล่าวทักทายกันในโทรศัพท์
ใช้คำนี้ทักทายทุกครั้ง ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายรับหรือฝ่ายโทรไปหา โมชิ โมชิ เป็นคำที่เหมาะสมที่จะพูดทางโทรศัพท์มากกว่า คนนิจิวะ
ห้ามใช้ โมชิ โมชิ กับการพูดต่อหน้ากัน
คำนี้เขียนเป็นฮิรางานะได้อย่างนี้ もしもし
ออกเสียงคำนี้ว่า โมช-โมช

วิธี่ที่ 2 ทักทายแบบไม่เป็นทางการ
ใช้คำว่า “โอสซุ” กับเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ชาย คำนี้เป็นคำทักทายไม่เป็นทางการ ใช้กับเพื่อนสนิทที่เป็นผู้ชาย หรือกับญาติสนิทที่เป็นผู้ชาย อายุไล่เลี่ยกัน
คำนี้จะไม่นิยมใช้กับเพื่อนที่เป็นผู้หญิง หรือกับเพื่อนต่างเพศ
โอสซุ มีความหมายประมาณว่า “เฮ้ ว่าไง!” หรือ “ไงพวก!”
คำนี้เขียนเป็นฮิรางานะได้แบบนี้ おっす
ออกเสียงคำนี้ว่า โอส
ในโอซาก้า คำว่า “ยาโฮ่” เป็นอีกคำหนึ่งที่ไว้ใช้ทักทายกันในกลุ่มเพื่อนฝูง
ปกติจะเขียนเป็นคาตาคานะกัน เพราะเป็นคำที่ใช้แสดงความรู้สึก (ヤーホー)
ออกเสียงคำนี้ว่า “ยา-โฮ่”
ยาโฮ่ สามารถใช้กล่าวทักทายในกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่าได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิง
คำถามว่า “ไซคิน โดะ?” มีค่าเท่ากับคำถามในภาษาอังกฤษว่า “มีอะไร?” หรือ “ว่าไงมั่ง?”
เช่นเดียวกับคำทักทายแบบไม่เป็นทางการ คุณควรกล่าวคำนี้กับคนที่คุณสนิทสนมกัน เช่นเพื่อน พี่น้อง หรือกับเพื่อนร่วมห้อง หรือเพื่อนร่วมชั้นในบางโอกาส
คำถามนี้เขียนเป็นคันจิได้ว่า 最近どう? เขียนเป็นฮิรางานะได้ว่า さいきん どう?
ออกเสียงคำถามนี้แบบลวกๆได้ว่า ซิง-คิน-โด
กล่าวทักทายกับคนที่เราไม่ได้เจอกันเป็นเวลานานด้วย “ฮิซาชิบุริ” ในภาษาอังกฤษ เปรียบได้กับทักทายประมาณว่า “ไง ไม่เจอกันนานเลยนะ” หรือ “ไม่เจอกันตั้งพักนึงเลย”
ปกติคุณควรกล่าวทักทายแบบนี้กับเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัวที่คุณไม่เจอมาเป็นเวลานาน เป็นสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือปี
เขียนคำนี้เป็นคันจิได้ว่า 久しぶり ส่วนฮิรางานะเขียนแบบนี้ ひさしぶり
ถ้าอยากให้ดูเป็นทางการหน่อย ให้พูดแบบนี้ “โอ ฮิซาชิบุริ เดส เน” เขียนเป็นคันจิได้ว่า お久しぶりですね ส่วนฮิรางานะเขียนแบบนี้ おひさしぶりですね
ออกเสียงประโยคนี้ในรูปเต็มได้ว่า โออ ฮี-ซา-ชี-บู-รี-เด-ซือ-เน

วิธีที่ 3 มารยาทในการโค้งคำนับ
การโค้งคำนับใช้กันบ่อยมาก ไม่ใช่ใช้กันแค่ตอนพบเจอกันเพียงอย่างเดียว แต่มันแสดงถึงความเคารพซึ่งกันและกันด้วย สามารถให้ฝ่ายไหนเป็นคนเริ่มก่อนก็ได้
เข้าใจไว้ว่าการโค้งให้แก่กัน เป็นมารยาทที่ดีงามกว่าการจับมือกัน ส่วนสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำคือการโค้งตอบ
เมื่อมีคนโค้งคำนับให้คุณ คุณก็ต้องโค้งคำนับกลับ คุณควรจะโค้งให้ต่ำลงกว่าคู่สนทนาของคุณที่เป็นฝ่ายโค้งให้คุณก่อน การโค้งให้ต่ำลงเป็นการแสดงความเคารพต่อคู่สนทนาของคุณ ดังนั้น ควรโค้งให้ต่ำกว่าคนที่โค้งให้คุณ ถ้าเขาคนนั้นมีฐานะทางสังคมสูงกว่าคุณ หรือเป็นคนที่คุณไม่รู้จัก
การโค้งคำนับทักทายกันจะโค้งต่ำลงมาประมาณ 15 องศา กับคนที่คุณคุ้นหน้าค่าตากันดี ส่วนกับคนที่คุณเพิ่งพบกับเขาหรือฐานะทางสังคมเขาสูงกว่าคุณ ให้คุณโค้งต่ำลงมาประมาณ 30 องศา การโค้งคำนับที่ลงมาต่ำถึง 45 องศาจะไม่นิยมทำกัน เว้นแต่คุณจะไปพบกับนายกเทศมนตรีของญี่ปุ่นหรือพบกับองค์จักรพรรดิ
ถ้าคุณอยากจะโค้งคำนับให้กับเพื่อนที่แสนดีของคุณ คุณแค่ผงกหัวให้ก็พอ แบบนี้คือการการโค้งคำนับที่ง่ายที่สุด
โค้งคำนับ ให้แขนทั้งข้างของคุณอยู่ข้างลำตัว ตามองขนานไปกับหัวของคุณ มั่นใจด้วยว่า คุณใช้แรงส่งจากเอวเพื่อโค้งคำนับ ถ้าแค่ผงกหัวหรือแค่ยักไหล่นั้นเป็นการทักทายที่ไม่เป็นทางการและส่อไปในทางดูหมิ่นคู่สนทนาได้

วิธีที่ 4 การทักทายแบบเป็นเวลา
เปลี่ยนไปทักทายด้วยประโยค “โอฮาโยะ โกไซมัส” ในการสวัสดีกันตอนเช้า ใช้ประโยคนี้สวัสดีผู้คนในเวลาก่อนเที่ยง ประโยคแปลเป็นความหมายง่ายๆได้ว่า “สวัสดี”
การทักทายเฉพาะเวลาในญี่ปุ่นนี้ สำคัญพอๆกับการทักทายเฉพาะเวลาในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่คุณกล่าว่า “คนนิจิวะ” ทักทายกันตอนเช้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เขาใช้ “โอฮาโยะ โกไซมัส” ในการกล่าวทักทายตอนเช้ากันมากกว่า
ประโยคนี้เขียนเป็นคันจิได้ว่า お早うございます เขียนเป็นฮิรางานะได้ว่า おはようございます
คุณสามารถย่อให้สั้นลงได้ โดยกล่าวแค่ “โอฮาโยะ” เวลาพูดกับเพื่อน หรือคนที่คุณคุ้นเคยกันดี คันจิเขียนได้ว่า お早う ส่วนฮิรางานะเขียนได้ว่า おはよう
ออกเสียงประโยคทักทายนี้ได้ว่า โอ-ฮา-โย-โก-ไซย-มัส
ใช้ “คมบังวะ” กล่าวทักทายตอนเย็น หลังมื้อเย็นไปแล้ว คุณควรเริ่มกล่าวทักทายผู้อื่นด้วยประโยคนี้มากกว่าประโยค “คนนิจิวะ”
เช่นเดียวกับการกล่าวทักทายเฉพาะเวลาอื่นๆ คมบังวะเป็นประโยคพื้นฐานใช้ทักทายช่วงเย็นถึงค่ำ คุณยังใช้ “คนนิจิวะ” ได้อยู่ แต่อย่างหลังมันไม่เหมาะกว่าอย่างแรก
เขียนประโยคนี้เป็นคันจิได้ว่า 今晩は ฮิรางานะเขียนได้ว่า こんばんは
ออกเสียงคมบังวะเป็น คม-บัง-วะ
ลองใช้ “โอยาสึมิ นาไซ” เพื่อกล่าวอำลากันตอนค่ำ
จดไว้ว่า โอยาสึมิ นาไซ ใช้กันบ่อยๆแทนคำว่า “ราตรีสวัสดิ์” ในตอนกลางคืนมากกว่าคำว่า “สวัสดี” คุณอาจถูกมองด้วยสายตาแปลกๆงงๆ เมื่อคุณใช้ “สวัสดี” ในตอนกลางคืน
เมื่อคุณอยู่กับเพื่อนๆ เพื่อนร่วมชั้น สมาชิกในครอบครัวที่สนิทๆกัน หรือใครก็ตามที่คุณรู้จักกัน ประโยคนี้สามารถย่อให้สั้นลง เป็น โอยาสึมิ แทนได้
โอยาสึมิ เขียนแบบฮิรางานะได้แบบนี้ おやすみ ถ้าทั้งประโยค โอยาสึมินาไซ เขียนเป็นแบบนี้ おやすみなさい
ออกเสียงประโยคนี้ได้ว่า โอ-ยา-ซือ-มี-นา-ไซย